ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สกู๊ปพิเศษ: สถิติชี้ แจ๊ซซ์ ก้าวสู่การเป็นซุปตาร์


โปรแจ๊ซซ์ อติวิชญ์ เจนวัฒนานนท์ สวิงหนุ่มจากหัวหิน วัย 24 ปีที่กำลังรอการพิสูจน์ตัวเองบนเวทีระดับโลก

เมื่อปี 2016 มันเป็นปีที่ไม่น่าจดจำนักสำหรับ โปรแจ๊ซซ์ เจนวัฒนานนท์ สวิงหนุุ่มจากหัวหิน หลังจากที่ต้องสูญเสียการ์ด เอเชียน ทัวร์ แต่เพียงไม่ถึง 3 ปี เขากลับมาถึงจุดสูงสุดของทัวร์ด้วยการก้าวขึ้นมาเป็น แชมป์ เอเชียน ทัวร์ ออร์เดอร์ ออฟ เมอริต


จากวันที่ไม่สามารถรักษาโอกาสในการเล่น จนก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในนักกอล์ฟที่ดีที่สุดคนหนึ่งของโลก

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แจ๊ซซ์ ควรที่จะได้รับโอกาสลงเล่นใน เดอะ มาสเตอร์ส เป็นครั้งแรกให้กับตัวเอง

น่าเสียดายที่สถานการณ์ ไวรัส โควิด-19 ที่กำลังคุกคามไปทั่วโลก ทำให้รายการ เดอะ มาสเตอร์ส ต้องขยับตัวเองไปเล่นในเดือน พ.ย.นี้ และนั่นทำให้ แจ๊ซซ์ ต้องรอคอยโอกาสของตัวเองในการลงหวดที่ ออกัสต้า เนชั่นเนล ออกไป แต่ถึงกระนั้นเอง มันก็ทำให้เราได้มีเวลามาดูว่า กว่าที่ แจ๊ซซ์ ที่ปัจจุบันรั้งมือ 39 ของโลก ก้าวมาถึงจุดนี้ได้ยังไง
แชมป์ บังคลาเทศ โอเพ่น เมื่อปี 2017 เป็นเหมือนรายการที่ปลุก แจ๊ซซ์ จากวันที่แสนย่ำแย่สู่ความสำเร็จ

ช่วงเริ่มต้น 

แจ๊ซซ์ ก้าวเข้ามาสู่การเป็นผู้เล่นของ เอเชียน ทัวร์ ในปี 2010 โดยตอนนั้น แจ๊ซซ์ กลายเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดตลอดกาลของทัวร์ด้วยวัย 14 ปีกับอีก 71 วัน ซึ่งลงเล่นรายการแรกในศึก เอเชียน ทัวร์ อินเตอร์เนชั่นเนล ที่กรุงเทพฯ ก่อนที่จะได้รับการ์ดทัวร์ในปี 2013 ซึ่งระหว่างปี 2013-2015 แจ๊ซซ์ จบด้วยอันดับ 31, 32 และ 18 ตามลำดับในอันดับ ออร์เดอร์ ออฟ เมอริต ก่อนที่ในปี 2016 เขาจะจบลงด้วยอันดับ 63 ไม่สามารถรักษาการ์ดทัวร์ได้
แจ๊ซซ์ กับถ้วยพระราชทาน ควีนส์คัพ เมื่อปี 2018
เมื่อไม่มีการ์ดทัวร์ แจ๊ซซ์ ก็ต้องเข้าสู่การแข่งขันรอบคัดเลือกเพื่อเข้าสู่ทัวร์ในศึก คิวสกูล เมื่อต้นปี 2017 แต่ก็พลาดโอกาสไปหลังจบที่อันดับ 82 ร่วม
แชมป์ สิงค์โปร์ โอเพ่น ในต้นปี 2019 ที่เป็นการเปิดซีซั่นอันยอดเยี่ยม
ทว่า แจ๊ซซ์ ก็ไม่ต้องรอคอยโอกาสนาน เพราะในการแข่งขัน เอเชียน ทัวร์ รายการ บาสฮันดารา บังคลาเทศ โอเพ่น เมื่อต้นเดือน ก.พ.ของปีเดียวกัน แจ๊ซซ์ กลับมาคว้าตำแหน่งแชมป์ และเป็นแชมป์แรกของตัวเองใน เอเชียน ทัวร์ สำเร็จ ทำให้คว้าโอกาสในการเล่นในทัวร์อีก 2 ปี แต่นั่นก็ไม่ใช่แค่นั้น เพราะนั่นทำให้เขาสร้างความมั่นใจของตัวเองกลับมาอีกครั้ง
ถ้วยแชมป์ โคลอน โคเรีย โอเพ่น ที่ทำให้ แจ๊ซซ์ ได้ออกไปอาละวาดใน เจแปน กอล์ฟ ทัวร์
จากวันแห่งชัยชนะของเขาที่ ดาก้า มาจนถึงวันนี้ แจ๊ซซ์ ได้พิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นแล้วว่าเขายอดเยี่ยมแค่ไหน จนคว้าแชมป์ใน เอเชียน ทัวร์ ไปแล้ว 6 รายการ รวมถึง 1 แชมป์ในศึก เจแปน กอล์ฟ ทัวร์ ทำให้เขาได้รับโอกาสมากมายในการกระทบไหลผู้เล่นชั้นยอด ซึ่งรวมถึงการได้เล่นในรายการ พีจีเอ แชมเปี้ยนชิพ เมื่อปี 2019 และจบด้วยการคว้าอันดับ 14 ร่วม พร้อมทั้งจบปีด้วยการเป็นมือ 1 ของ เอเชียน ทัวร์ และรั้งอันดับ 38 ของโลก
แชมป์ อินโดนิเซีย มาสเตอร์ส (บน) และ แชมป์ ไทยแลนด์ มาสเตอร์ส ที่ทำให้ แจ๊ซซ์ ก้าวขึ้นเป็นมือ 1 ของ เอเชียน ทัวร์

มาดูกันว่า แจ๊ซซ์ มีความก้าวหน้าอย่างไรกันบ้าง?

---ทีมข่าวกอล์ฟสยามกีฬารายวัน---

สถิติ กรีน-อิน-เรคกูเลชั่น (GIR)

นี่คือสิ่งสำคัญมาก เพราะสถิติ กรีน-อิน-เรคกูเลชั่น ของ แจ๊ซซ์ พัฒนาจาก 64.98% ในปี 2016 มาเป็น 75.26% ในปี 2019 ซึ่งหากทำเพิ่มอีก 2 กรีนต่อรอบ มันจะทำให้เขากลายเป็นสถิติเทียบเท่ากับนักกอล์ฟที่ดีที่สุดของโลกเลย

ลองเปรียบเทียบดู ถ้าหากไม่คำนึงถึงความยาก และความยาวของสนาม อาจจะเข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญ ด้วยเปอร์เซ็นต์แบบนี้ แจ๊ซซ์ จะกลายเป็นผู้เล่นอันดับ 1 ของ พีจีเอ ทัวร์ และอันดับ 6 ของ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ เลยในปี 2019

สถิติพัตต์ ต่อ กรีน-อิน-เรคกูเลชั่น

ในทัวร์อื่นๆผู้เล่นที่ระดับท๊อปใน กรีน-อิน-เรคกูเลชั่น จะไม่มีสถิติ พัตต์ต่อกรีน-อิน-เรคกูเลชั่น สูงมากนัก แต่ในปี 2019 แจ๊ซซ์ มีสถิติพัตต์เฉลี่ยต่อกรีน-อิน-เรคกูเลชั่นที่ 1.71 ซึ่งนับเป็นอันดับ 2 ของ เอเชียน ทัวร์

ความสำเร็จอันน่าทึ่งนี้มันเป็นตัวบ่งชี้ว่า เขาไม่เพียงแค่ตีขึ้นกรีนได้เยอะเท่านั้น แต่เขาก็ยังตีได้ใกล้หลุมอีกด้วย

มีเพียงผู้เล่นไม่กี่คนเท่านั้นที่มีสถิติเหล่านี้สูงในทั้ง 2 อย่างของปี 2019 ยกเว้น แม๊ตธิว ฟิทซ์แพทริค สวิงชาวอังกฤษจาก ยูโรเปี้ยน ทัวร์ หนึ่งในผู้เล่นที่ แจ๊ซซ์ เคยเอาชนะและคว้าแชมป์ เอสเอ็มบีซี สิงค์โปร์ โอเพ่น เมื่อปี 2019 โดยที่ ฟิทซ์แพทริค อยู่ในอันดับ 12 ในอันดับ กรีน-อิน-เรคกูเลชั่น ที่ 73.11 % แต่เขาเป็นอันดับ 2 ในอันดับ พัตต์ ต่อ กรีน-อิน-เรคกูเลชั่น ที่สถิติ 1.71 ในยูโรเปี้ยน ทัวร์

การเอาตัวรอด

นอกจากนั้น เปอร์เซ็นต์ในการเอาตัวรอดของ แจ๊ซซ์ ก็พัฒนาจาก 60.34% ในปี 2016 มาเป็น 69.49% ในปี 2019 โดยสถิติพลาดกรีนเพียง 4.45 ครั้งของ แจ๊ซซ์ และมีสถิติเกม อัพ-แอนด์-ดาวน์ อยู่ที่ 3.09

เปอร์เซ็นต์ กรีน-อิน-เรคกูเลชั่น ที่สูงสุดมันเป็นส่วนผสมมาจากทักษะในการเอาตัวรอดของเขา ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า แจ๊ซซ์ มีสถิติเฉลี่ย 1.87 ในการทำโบกี้ต่อรอบ และนับว่าเป็นสถิติที่ต่ำที่สุดใน เอเชียน ทัวร์ เมื่อปีที่แล้ว

เบอร์ดี้ต่อรอบ

อีกตัวเลขที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถของ แจ๊ซซ์ ก็คือจำนวนในการทำเบอร์ดี้ของเขา โดยเขามีสถิติเฉลี่ย 5.00 ต่อรอบในการทำเบอร์ดี้ สูงที่สุดของ ทัวร์ และมีสถิติเหนือกว่า สก๊อตต์ เฮนด์ ที่รั้งอันดับ 2 ที่ 4.31 เพียง 0.69 โดยเขาเป็นผู้เล่นที่ทำเบอร์ดี้ได้สูงสุดต่อรอบ และเสียโบกี้น้อยที่สุดของทัวร์ในเวลาเดียวกันด้วย

สกอร์เฉลี่ย

ด้วยตัวเลขอันน่าทึ่ง และพัฒนาการที่ก้าวกระโดด นี่คือกุญแจสำคัญในความยอดเยี่ยมของ แจ๊ซซ์ ระหว่างปี 2016 และ 2019 โดยเขาพัฒนาจากสถิติสกอร์เฉลี่ย 71.23 ในปี 2016 มาเป็น 68.28 ในปี 2019 ซึ่งห่างกันเกือบ 3 สโตรคต่อรอบ ทำให้ไม่แปลกที่ แจ๊ซซ์ จะคว้าถึง 4 แชมป์จากเมื่อปีที่แล้ว และก้าวขึ้นเป็นมือ 1 ของทัวร์

สถิติไดร์ฟ

แจ๊ซซ์ พัฒนาระยะเฉลี่ยในการไดร์ฟได้มากถึง 12 หลา นับตั้งแต่ปี 2016 ในขณะเดียวกันก็พัฒนาความแม่นยำจากเดิมมากกว่า 4% ด้วย ทำให้เขาเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่มีการไดร์ฟลูกที่ดีที่สุดของทัวร์ และจบด้วยอันดับ 6 ในการ ไดร์ฟ เมื่อปีที่แล้ว


จากผลงานที่ระบุให้เห็นได้ชัดถึงพัฒนาการอันยอดเยี่ยมของ แจ๊ซซ์ ว่าเหตุใดเมื่อปีที่แล้ว แจ๊ซซ์ จึงมีผลงานระเบิดเทิดเทิงเช่นนี้ และทำให้แฟนๆกอล์ฟอยากจะเห็นแล้วว่า พัฒนาการต่อไปของ แจ๊ซซ์ จะเป็นเช่นไรต่อไป กับเป้าหมายที่สูงขึ้น และความเข้มข้นที่มากขึ้น กับย่างก้าวการเป็นซุปตาร์นักกอล์ฟที่ทุกคนกำลังจับตาในตอนนี้
บรรยากาศของแฟนกอล์ฟชาวสหรัฐที่ให้การต้อนรับ แจ๊ซซ์ ที่กลายเป็นขวัญใจแฟนๆชั่วข้ามคืนในศึก พีจีเอ แชมเปี้ยนชิพ
(ขอบคุณข้อมูลจาก AsianTour)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิวพอร์ต เปิดลบ 10 นำเดี่ยวสวิง เอดีที ที่อินโดฯ

นิวพอร์ต ลาภาโรจน์กิจ สวิงหนุ่มวัย 26 ปีจากสงขลา ขึ้นนำเดี่ยวที่สกอร์ 10 อันเดอร์พาร์ 62 จบรอบแรกกอล์ฟ เอดีที ทัวร์ รายการ โอบี กอล์ฟ อินวิเตชั่นเนล ที่ประเทศอินโดนิเซีย เมื่อวันพุธที่ 4 ตุลาคม 2566 (ADT) นิวพอร์ต ลาภาโรจน์กิจ สวิงหนุ่มจาก สงขลา วัย 26 ปี เปิดสวยทำ 10 อันเดอร์พาร์ 62 ขึ้นนำเดี่ยว โดยมี ฟิลิป ลุนเดลล์ นักกอล์ฟชาวสวีดิช ตามหลัง 4 สโตรคที่สกอร์ 6 อันเดอร์พาร์ 66 ขณะที่ แสงชัย แก้วเจริญ, คาลิน โยชิ (อินเดีย) และ จัสติน ควิบาน (ฟิลิปปินส์) รั้งที่ 3 ร่วมสกอร์ 5 อันเดอร์พาร์ 67 กอล์ฟ เอเชียน ดีเวลลอปเมนท์ ทัวร์ หรือ เอดีที รายการ โอบี กอล์ฟ อินวิเตชั่นเนล พรีเซนเตด บาย เซนทูล ไฮแลนด์ส กอล์ฟ คลับ ชิงเงินรางวัลรวม 70,000 เหรียญสหรัฐ (2.31 ล้านบาท) ที่สนาม เซนทูล ไฮแลนด์ส กอล์ฟ คลับ แบบพาร์ 72 ระยะ 6,538 หลา ประเทศอินโดนิเซีย ระหว่างวันที่ 4-6 ตุลาคม 2566

กัญจน์ หวังลุ้นแชมป์ อินเตอร์เนชันแนล ซีรีส์ สิงคโปร์ สุดสัปดาห์นี้

กัญจน์ เจริญกุล นักกอล์ฟหนุ่มจากพังงาวัย 31 ปี กัญจน์ เจริญกุล สวิงจากพังงา วัย 31 ปี หวังสร้างผลงานดีในศึก อินเตอร์เนชันแนล ซีรีส์ สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 5-8 ตุลาคมนี้ เพื่อโอกาสลุ้นแชมป์ทำเงินรางวัลสะสมประจำฤดูกาลนี้ โดยเตรียมพร้อมลงประชันฝีมือกับบรรดาผู้เล่นชั้นนำของเอเชียนทัวร์ ที่สนามทานาห์ เมราห์ คันทรีคลับ (แทมไพน์ส คอร์ส) ระยะ 7,535 หลา พาร์ 72 ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีเงินรางวัลรวมให้ช่วงชิง 2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 70 ล้านบาท

“นิติธร” พร้อมป้องกันแชมป์ อินเตอร์เนชันแนล ซีรีส์ สิงคโปร์ สัปดาห์นี้

นิติธร ทิพย์พงษ์ แชมป์เก่าจากไทย พร้อมลงป้องกันแชมป์ อินเตอร์เนชั่นเนล ซีรี่ส์ สิงค์โปร์ 5-8 ตุลาคมนี้ นิติธร ทิพย์พงษ์ โปรหนุ่มดาวรุ่งของไทย หวังจารึกชื่อครองแชมป์อินเตอร์เนชันแนล ซีรีส์ สองสมัย ในการแข่งขันที่จะเปิดฉากดวลวงสวิงที่ประเทศสิงคโปร์ในวันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคมนี้ โดยมีนักกอล์ฟชื่อดังของโลกและเหล่าผู้เล่นชั้นนำของเอเชียน ทัวร์ ร่วมชิงชัยคับคั่ ง